หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติของบล๊อก และความหมาย

บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภท หนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอใน หลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราที ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก [1]

สารกำจัดศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตรของประเทศไทย


  • พาราคว็อท (Paraquat) เป็นยากำจัดวัชพืชที่มีการใช้มากที่สุดในประเทศไทย ทำงานโดยหยุดยั้งการเติบโตของเซลวัชพืช และทำให้เนื้อเยื่อของเซลนั้นแห้งตายลง
  • ไกลโฟเสต (Glyphosate) เป็นยากำจัดวัชพืชโดยวิธีฉีดพ่นและดูดซึมทางใบ, วิธีฉีดเข้าลำต้น หรือหยอดที่ยอด
  • 2,4-ดี (2,4-D) เป็นฮอร์โมนพืช (ออกซิน) สังเคราะห์ โดยถ้าใช้ในความเข้มข้นต่ำจะกระตุ้นการเจริญเติบโต ถ้าใช้ในความเข้มข้นสูงจะเป็นสารกำจัดวัชพืชใบกว้าง เพราะมีฤทธิ์ของความเป็นออกซินสูงมาก โดยวัชพืชใบกว้างซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงคู่จะไวต่อการตอบสนองต่อ 2,4-ดี มากกว่าพืชใบแคบซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
  • บิวตาคลอร์ (Butachlor) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้ป้องกันวัชพืชก่อนที่วัชพืชจะงอก เพื่อป้องกันวัชพืช เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว กกขนาก หนวดปลาดุก กกทราย และ ขาเขียด
  • โพรพานิล (Propanil) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืชพวกใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว
  • ฟีโนซาพรอพ-พี-เอ็ทธิล (Fenoxaprop-p-ethyl) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืชประเภทหญ้า เช่น หญ้าดอกขาว หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าแดง
  • เพนดิเมทธอลิน (Pendimethalin) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืช เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าดอกขาว หญ้าแดง กกขนาก กกทราย หนวดปลาดุก ขาเขียด ผักปอดนา
  • ไพราโซซัลฟูรอน-เอทิล (Pyrazosulfuron-ethyl) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืช เช่น กกขนาก หนวดปลาดุก ขาเขียด ผักปอดนา ผักแว่น



เครดิตhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A



สิ่งที่เกษตรกรเรียนรู้ในโรงเรียนเกษตรกร 
สารกำจัดศัตรูพืช
ประเภทของสารกำจัดศัตรูพืช
  • สารกำจัดแมลง
  • สารกำจัดเชื้อรา
  • สารกำจัดวัชพืช
กลุ่มสารกำจัดศัตรูพืช
  • ออร์กาโนฟอสเฟต
  • ออร์กาโนคลอรีน
  • คาร์บาเมต
  • ไพรีทรอยด์
  • พาราควอท
  • ฯลฯ 
ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และความเป็นพิษ
  • ความเป็นพิษเฉียบพลัน
  • ความเป็นพิษเรื้อรัง
  • สารก่อมะเร็ง
  • สารยับยั้งการทำงานของต่อมไร้ท่อ
  • ความเป็นพิษต่อพัฒนาการเด็ก
ช่องทางการได้รับสารเคมี
  • ผิวหนัง
  • ปาก
  • ทางลมหายใจ
ทำความเข้าใจฉลากผลิตภัณฑ์
  • การป้องกันในระหว่างการใช้
  • เก็บสารเคมีอย่างปลอดภัย
  • การทิ้งระยะฉีดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว 
ผลกระทบต่อศัตรูพืช
  • การพัฒนาความต้านทานสารเคมี
ต้นทุน
  • ต้นทุนที่เป็นเงิน
  • ต้นทุนสิ่งแวดล้อม
  • ต้นทุนสุขภาพ 
ผลกระทบข้างเคียง
  • ศัตรูธรรมชาติ
    • ศัตรูพืชมีการระบาดซ้ำซ้อน
    • เกิดการระบาดของศัตรูพืชที่มิใช่เป้าหมาย 
  • นก
  • ปลา


เครดิต  http://thailand.ipm-info.org/th/FarmerFieldSchools/39_pesticides.htm


หนอนนก (อังกฤษMealworm) เป็นชื่อสามัญที่เรียกสำหรับหนอนของแมลงปีกแข็งชนิด Tenebrio molitor ปัจจุบันนิยมเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยมีความสำคัญใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงสวยงาม เช่น ปลาสวยงาม, นกสวยงาม, สัตว์เลื้อยคลาน รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กบางชนิด เช่น แฮมสเตอร์หรือ กระรอก
รูปร่างของหนอนนก เป็นหนอนที่มีเปลือก มีลำตัวยาวเรียวทรงกระบอกสีน้ำตาลอมเขียว เมื่อโตเต็มที่มีความกว้างลำตัว 0.28-3.2 มิลลิเมตร ยาว 29-35 มิลลิเมตร น้ำหนัก 0.2-0.24 กรัม มีอายุประมาณ 55-75 วัน ก่อนจะเข้าสู่ภาวะดักแด้ ซึ่งจะมีอายุในวงจรนี้ราว 5-7 วัน จากนั้นจะลอกคราบเป็นตัวโตเต็มวัย ซึ่งจะเป็นแมลงปีกแข็งลำตัวสีน้ำตาลอมดำ ซึ่งจัดเป็นแมลงศัตรูพืช มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรปในที่ ๆ ที่มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ซึ่งตัวเต็มวัยจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 3-6 เดือน ตัวเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ 1-2 ฟอง/วัน หรือ 80-85 ฟอง/ตลอดวงจรชีวิต
คุณค่าของหนอนนก คือ เป็นอาหารที่มีทั้งโปรตีนและไขมันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะไขมัน ในปลาสวยงามบางชนิด เช่น ปลาอะโรวาน่า หากให้หนอนนกในปริมาณที่มาก ปลาจะติดใจในบางตัวอาจจะไม่ยอมกินอาหารชนิดอื่นเลยก็เป็นได้ และจะสะสมไขมันในตัวซึ่งจะนำมาซึ่งอาการตาตก
นอกจากนี้แล้ว ในบางพื้นที่ ยังมีผู้รับประทานหนอนนกเป็นอาหารอีกด้วย ด้วยการทอดเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่น ๆ ที่รับประทานได้
ปัจจุบัน ได้มีผู้เพาะเลี้ยงหนอนนกเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยโรงเรือนที่เพาะต้องเป็นสถานที่ ๆ โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่สำคัญคือ ต้องไม่ชื้น หากชื้นหนอนนกจะตายด้วยเชื้อราและไม่มีศัตรูตามธรรมชาติมารบกวน เช่น จิ้งจกตุ๊กแก หรือ มด ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ เมื่อซื้อหนอนนกไปแล้ว จะนิยมเก็บด้วยการเทใส่ถาดหรือถังพลาสติกที่มีความสูงพอสมควรที่หนอนนกไม่สามารถปีนออกมาได้ ปิดฝาด้วยภาชนะแบบตะแกรง อาหารที่ให้สามารถให้ได้หลากหลาย ทั้ง ผักชนิดต่าง ๆ อาหารปลาเม็ด หรือ รำข้าว และต้องมีตะแกรงรองพื้น เพื่อช่วยในการร่อนมูลและเปลือกของหนอนนกที่ถ่ายออกมาด้วย
ราคาขายในปัจจุบัน (พ.ศ. 2553) นิยมขายปลีกกันที่ขีดละ 40-80 บาท กิโลกรัมละ 300-500 บาท

เครดิต  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%81
กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน
สะเดา (สะเดาไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis  Valeton
ชื่อสามัญ Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine
วงศ์ :   Meliaceae
ชื่ออื่น  สะเลียม (ภาคเหนือ)  กะเดา (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี  
ส่วนที่ใช้ 
ดอกช่อดอก  ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด
สรรพคุณ :
  • ดอก ยอดอ่อน  -  แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี
  • ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
  • เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
  • ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
  • กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
  • ยาง - ดับพิษร้อน
  • แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ
  • ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
  • ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
  • ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ
  • เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง
  • น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • เป็นยาขมเจริญอาหาร
    ช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
  • ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
    สะเดาให้สารสกัดชื่อ 
    Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม  ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย



    เครดิต  http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_15.htm

ขี้เหล็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์Senna siamea Lam.)[1] จัดเป็นพืชในวงศ์ Leguminosae นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มาเลย์-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) เป็นต้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลางผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2485 ศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์ ได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของต้นขี้เหล็ก พบว่าใบและดอกขี้เหล็กทำให้เกิดอาการง่วงซึมและมีพิษน้อยกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่ได้ศึกษา ต่อมาจึงมีผู้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดใบขี้เหล็กอีกครั้งโดยใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษได้รายงานว่าสามารถสกัดสารชนิดใหม่จากใบขี้เหล็กได้ โดยตั้งชื่อว่าบาราคอล (barakol)

เครดิต http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81