หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติของบล๊อก และความหมาย

บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภท หนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอใน หลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราที ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก [1]

สารกำจัดศัตรูพืชที่สำคัญในการเกษตรของประเทศไทย


  • พาราคว็อท (Paraquat) เป็นยากำจัดวัชพืชที่มีการใช้มากที่สุดในประเทศไทย ทำงานโดยหยุดยั้งการเติบโตของเซลวัชพืช และทำให้เนื้อเยื่อของเซลนั้นแห้งตายลง
  • ไกลโฟเสต (Glyphosate) เป็นยากำจัดวัชพืชโดยวิธีฉีดพ่นและดูดซึมทางใบ, วิธีฉีดเข้าลำต้น หรือหยอดที่ยอด
  • 2,4-ดี (2,4-D) เป็นฮอร์โมนพืช (ออกซิน) สังเคราะห์ โดยถ้าใช้ในความเข้มข้นต่ำจะกระตุ้นการเจริญเติบโต ถ้าใช้ในความเข้มข้นสูงจะเป็นสารกำจัดวัชพืชใบกว้าง เพราะมีฤทธิ์ของความเป็นออกซินสูงมาก โดยวัชพืชใบกว้างซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงคู่จะไวต่อการตอบสนองต่อ 2,4-ดี มากกว่าพืชใบแคบซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
  • บิวตาคลอร์ (Butachlor) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้ป้องกันวัชพืชก่อนที่วัชพืชจะงอก เพื่อป้องกันวัชพืช เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว กกขนาก หนวดปลาดุก กกทราย และ ขาเขียด
  • โพรพานิล (Propanil) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืชพวกใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว
  • ฟีโนซาพรอพ-พี-เอ็ทธิล (Fenoxaprop-p-ethyl) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืชประเภทหญ้า เช่น หญ้าดอกขาว หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าแดง
  • เพนดิเมทธอลิน (Pendimethalin) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืช เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าดอกขาว หญ้าแดง กกขนาก กกทราย หนวดปลาดุก ขาเขียด ผักปอดนา
  • ไพราโซซัลฟูรอน-เอทิล (Pyrazosulfuron-ethyl) เป็นยากำจัดวัชพืชที่ใช้กำจัดวัชพืช เช่น กกขนาก หนวดปลาดุก ขาเขียด ผักปอดนา ผักแว่น



เครดิตhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A



สิ่งที่เกษตรกรเรียนรู้ในโรงเรียนเกษตรกร 
สารกำจัดศัตรูพืช
ประเภทของสารกำจัดศัตรูพืช
  • สารกำจัดแมลง
  • สารกำจัดเชื้อรา
  • สารกำจัดวัชพืช
กลุ่มสารกำจัดศัตรูพืช
  • ออร์กาโนฟอสเฟต
  • ออร์กาโนคลอรีน
  • คาร์บาเมต
  • ไพรีทรอยด์
  • พาราควอท
  • ฯลฯ 
ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และความเป็นพิษ
  • ความเป็นพิษเฉียบพลัน
  • ความเป็นพิษเรื้อรัง
  • สารก่อมะเร็ง
  • สารยับยั้งการทำงานของต่อมไร้ท่อ
  • ความเป็นพิษต่อพัฒนาการเด็ก
ช่องทางการได้รับสารเคมี
  • ผิวหนัง
  • ปาก
  • ทางลมหายใจ
ทำความเข้าใจฉลากผลิตภัณฑ์
  • การป้องกันในระหว่างการใช้
  • เก็บสารเคมีอย่างปลอดภัย
  • การทิ้งระยะฉีดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว 
ผลกระทบต่อศัตรูพืช
  • การพัฒนาความต้านทานสารเคมี
ต้นทุน
  • ต้นทุนที่เป็นเงิน
  • ต้นทุนสิ่งแวดล้อม
  • ต้นทุนสุขภาพ 
ผลกระทบข้างเคียง
  • ศัตรูธรรมชาติ
    • ศัตรูพืชมีการระบาดซ้ำซ้อน
    • เกิดการระบาดของศัตรูพืชที่มิใช่เป้าหมาย 
  • นก
  • ปลา


เครดิต  http://thailand.ipm-info.org/th/FarmerFieldSchools/39_pesticides.htm


หนอนนก (อังกฤษMealworm) เป็นชื่อสามัญที่เรียกสำหรับหนอนของแมลงปีกแข็งชนิด Tenebrio molitor ปัจจุบันนิยมเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยมีความสำคัญใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงสวยงาม เช่น ปลาสวยงาม, นกสวยงาม, สัตว์เลื้อยคลาน รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กบางชนิด เช่น แฮมสเตอร์หรือ กระรอก
รูปร่างของหนอนนก เป็นหนอนที่มีเปลือก มีลำตัวยาวเรียวทรงกระบอกสีน้ำตาลอมเขียว เมื่อโตเต็มที่มีความกว้างลำตัว 0.28-3.2 มิลลิเมตร ยาว 29-35 มิลลิเมตร น้ำหนัก 0.2-0.24 กรัม มีอายุประมาณ 55-75 วัน ก่อนจะเข้าสู่ภาวะดักแด้ ซึ่งจะมีอายุในวงจรนี้ราว 5-7 วัน จากนั้นจะลอกคราบเป็นตัวโตเต็มวัย ซึ่งจะเป็นแมลงปีกแข็งลำตัวสีน้ำตาลอมดำ ซึ่งจัดเป็นแมลงศัตรูพืช มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรปในที่ ๆ ที่มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ซึ่งตัวเต็มวัยจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 3-6 เดือน ตัวเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ 1-2 ฟอง/วัน หรือ 80-85 ฟอง/ตลอดวงจรชีวิต
คุณค่าของหนอนนก คือ เป็นอาหารที่มีทั้งโปรตีนและไขมันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะไขมัน ในปลาสวยงามบางชนิด เช่น ปลาอะโรวาน่า หากให้หนอนนกในปริมาณที่มาก ปลาจะติดใจในบางตัวอาจจะไม่ยอมกินอาหารชนิดอื่นเลยก็เป็นได้ และจะสะสมไขมันในตัวซึ่งจะนำมาซึ่งอาการตาตก
นอกจากนี้แล้ว ในบางพื้นที่ ยังมีผู้รับประทานหนอนนกเป็นอาหารอีกด้วย ด้วยการทอดเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่น ๆ ที่รับประทานได้
ปัจจุบัน ได้มีผู้เพาะเลี้ยงหนอนนกเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยโรงเรือนที่เพาะต้องเป็นสถานที่ ๆ โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่สำคัญคือ ต้องไม่ชื้น หากชื้นหนอนนกจะตายด้วยเชื้อราและไม่มีศัตรูตามธรรมชาติมารบกวน เช่น จิ้งจกตุ๊กแก หรือ มด ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ เมื่อซื้อหนอนนกไปแล้ว จะนิยมเก็บด้วยการเทใส่ถาดหรือถังพลาสติกที่มีความสูงพอสมควรที่หนอนนกไม่สามารถปีนออกมาได้ ปิดฝาด้วยภาชนะแบบตะแกรง อาหารที่ให้สามารถให้ได้หลากหลาย ทั้ง ผักชนิดต่าง ๆ อาหารปลาเม็ด หรือ รำข้าว และต้องมีตะแกรงรองพื้น เพื่อช่วยในการร่อนมูลและเปลือกของหนอนนกที่ถ่ายออกมาด้วย
ราคาขายในปัจจุบัน (พ.ศ. 2553) นิยมขายปลีกกันที่ขีดละ 40-80 บาท กิโลกรัมละ 300-500 บาท

เครดิต  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%81
กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน
สะเดา (สะเดาไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis  Valeton
ชื่อสามัญ Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine
วงศ์ :   Meliaceae
ชื่ออื่น  สะเลียม (ภาคเหนือ)  กะเดา (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี  
ส่วนที่ใช้ 
ดอกช่อดอก  ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด
สรรพคุณ :
  • ดอก ยอดอ่อน  -  แก้พิษโลหิต กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ คันดุจมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักได้ดี
  • ขนอ่อน - ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
  • เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
  • ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
  • กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
  • ยาง - ดับพิษร้อน
  • แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ
  • ราก - แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะ ซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
  • ใบ,ผล - ใช้เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
  • ผล มีสารรสขม - ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบาย แก้โรคหัวใจเดินผิดปกติ
  • เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง
  • น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และยาฆ่าแมลง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • เป็นยาขมเจริญอาหาร
    ช่อดอกไม่จำกัด ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือใช้เปลือกสด ประมาณ 1 ฝ่ามือ ต้มน้ำ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
  • ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
    สะเดาให้สารสกัดชื่อ 
    Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม  ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย



    เครดิต  http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_15.htm

ขี้เหล็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์Senna siamea Lam.)[1] จัดเป็นพืชในวงศ์ Leguminosae นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่) ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) ยะหา (มาเลย์-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้) เป็นต้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลางผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2485 ศาสตราจารย์ นพ.อวย เกตุสิงห์ ได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของต้นขี้เหล็ก พบว่าใบและดอกขี้เหล็กทำให้เกิดอาการง่วงซึมและมีพิษน้อยกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่ได้ศึกษา ต่อมาจึงมีผู้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดใบขี้เหล็กอีกครั้งโดยใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษได้รายงานว่าสามารถสกัดสารชนิดใหม่จากใบขี้เหล็กได้ โดยตั้งชื่อว่าบาราคอล (barakol)

เครดิต http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


สูตรสมุนไพรกำจัดศัตรูพืช “ศูนย์ฯ วังผาง”

          “สมุนไพรไทย” เป็นพืชที่มีประโยชน์มากมายนานับประการ ในสมัยโบราณคนไทยรู้จักและนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์เป็นยา ช่วยป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ  นอกจาก ยา แล้ว สมุนไพรยังเป็นอาหารเสริมและบำรุงสุขภาพและยังนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆได้อีกมากมาย สมุนไพรหลายชนิดได้ถูกนำมาทำเป็นอาหารเพื่อสุขภาพสุดแสนอร่อยที่อยู่คู่สำรับคนไทยมาทุกมื้อ เช่น น้ำพริกต่างๆ ยำสมุนไพร ต้มข่า ต้มยำ แกงเลียง อาหารเหล่านี้อุดมและมีรสชาติของสมุนไพรไทยที่เข้มข้น กลมกล่อม ที่เป็นที่ชื่นชอบของทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ แต่สมาชิกของเครือข่ายการเรียนรู้ศูนย์ฯ ตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน กลับมองเห็นอีกหนึ่งคุณค่าของสมุนไพรที่มาจากภูมิปัญญาคือการทำ “สมุนไพรไล่และกำจัดศัตรูพืช”

 

          จากแนวคิดที่ต้องการลดการใช้สารเคมีที่ใช้ในการทำเกษตรของคนในชุมชน ทำให้เกษตรกรตำบลวังผาง เริ่มศึกษาและเสาะแสวงหาวิธีการไล่และกำจัดศัตรูพืชด้วยในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อลดการใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดหรือไม่ใช้เลยตามสภาพของพื้นที่ โดยเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน นำไปสู่การทดลองทำสมุนไพรกำจัดศัตรูพืชอย่างจริงจัง
          พี่มนู น้อยมณีวรรณ์ (ประธานศูนย์ฯ) เล่าว่า การทำสมุนไพรไล่และกำจัดศัตรูพืชไม่ใช่เรื่องแปลกหรือของใหม่ คนสมัยก่อนนั้นเขาทำกันมาตั้งนานแล้ว เพียงแต่ว่าจะจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มที่สนใจกันจริง ๆ เท่านั้น การใช้สมุนไพรนั้นให้ผลไม่รวดเร็วเหมือนการใช้สารเคมีในปัจจุบันนี้ ที่สารเคมีได้รับความนิยมทั้งที่มีราคาแพงก็เป็นเพราะคนเราชอบความสะดวก รวดเร็ว (หรืออาจจะเรียกว่าความง่ายก็ได้) จึงหาซื้อสารเคมีมาใช้กันมากจนน่าตกใจ แต่ในความเป็นจริงการใช้สมุนไพรมีข้อดีใช้กำจัดศัตรูพืชได้และให้ผลดีในระยะยาวปลอดภัยทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค



          นายกเทศมนตรีฯ สืบศักดิ์ สุภิมาส (นายก ทต.วังผาง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน) กล่าวเสริมว่า เทศบาลตำบลวังผางเอง ได้ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรในเรื่องของความรู้ การเพิ่มพูนประสบการณ์ และเงินทุน ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการเกษตรพอเพียง เกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือ การเป็นชุมชน “เกษตรอินทรีย์เพื่อชีวิต บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง”

          เวลาที่ทีมงานของ OKRD ที่นั่งคุยกับเพื่อน ๆ สมาชิกศูนย์ฯ รวบรวมความรู้และภูมิปัญญาของเกษตรกรชาววังผางผ่านไปอย่างรวดเร็วเพลิดเพลิน  เมื่อพี่มนู และเพื่อน ๆ ได้ถ่ายทอดเทคนิคและขั้นตอนการทำสมุนไพรไล่และกำจัดศัตรูพืชของที่นี่ ว่า....
          “การทำสมุนไพรไล่และกำจัดศัตรูพืชของพวกเราจะเน้นการนำสมุนไพร 13 ชนิด ที่สามารถไล่และกำจัดศัตรูพืชได้ครอบคลุมทั้งหมด ทั้ง กำจัดแมลงวันทอง มด แมลงวัน ยุง เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อกะโหลก ด้วงปีกแข็ง ไส้เดือนฝอย เป็นต้น ฯลฯ  สมุนไพรเหล่านั้น ได้แก่

 

          1.  ใบกระเพรา         กำจัดมด แมลงวัน และยุง    
          2.  ขิง                     กำจัดแมลงวันทอง มด แมลงวัน และยุง     
          3.  ขมิ้น                  กำจัดแมลงวันทอง
          4.  ข่า                     กำจัดมด แมลงวัน และยุง    
          5.  ใบสะเดา             ขับไล่แมลง
          6.  ต้นบัวบก            กำจัดแมลงทั่วไป
          7.  ฝักดอกคูน                    กำจัดหนอน และด้วง
          8.  ดอกดาวเรือง      กำจัดเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อกะโหลก หนอนกะหล่ำปลี ด้วงปีกแข็ง และไส้เดือนฝอย
          9.  เถาบอระเพ็ด       กำจัดเพลี้ยกระโดดน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น โรคยอดเหี่ยว โรคข้าวลีบ
          10. ไพล                   กำจัดเชื้อรา
          11. ใบมะรุม              กำจัดเชื้อรา แบคทีเรีย และโรคเน่า
          12. ว่านน้ำ               กำจัดด้วงหมัดผัก หนอนกระทู้ผัก แมลงวันทอง แมลงในโรงเก็บ ด้วงงวงช้าง ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว มอดตัวป้อม และมอดข้างเปลือก
          13.ต้นและใบสาบเสือ           กำจัดเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้ หนอนใยผัก

          เมื่อเตรียมสมุนไพร จำนวน 13 ชนิด (ตามสูตรของศูนย์ฯ วังผาง) เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปของการทำสมุนไพรไล่และกำจัดศัตรูพืชมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
          1.  นำสมุนไพรไปสับ/ทุบ ให้ละเอียด (รวมประมาณ 10 กิโลกรัม) แล้วนำไปใส่ในถังหมัก
          2. เติมน้ำตาล 3 กิโลกรัม / น้ำเปล่า 25 ลิตร / ยีสต์ทำขนมปัง 3 ช้อนชา / น้ำส้มควันไม้ 1 ลิตร ผสมคลุกเคลาให้เข้ากัน แล้วนำไปใส่ลงในถังที่จะใช้บรรจุสมุนไพร
          3.  ปิดฝาเพื่อทำการหมัก (ไม่ต้องปิดให้สนิท เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้บ้าง)
          4.  หมักไว้ประมาณ 20 – 25 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

 

          เมื่อต้องการนำไปใช้จะต้องกรองเอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำ (เข้มข้น) นำมาผสมน้ำเปล่าให้เจือจางอีกครั้งหนึ่งในอัตราส่วน 1:25-30คือ น้ำหมักสมุนไพรไล่และกำจัดศัตรูพืช 1 ส่วน ต่อน้ำเปล่า 25 – 30 ส่วน แต่สัดส่วนการใช้กับพืชผักและผลไม้ชนิดต่าง ๆ นั้นให้ใช้ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิดและต้องอาศัยประสบการณ์ ซึ่งจะต้องลองใช้และค้นหาสังเกตด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ได้ความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้
  

เครดิต  http://www.moralcenter.or.th/msnwangphang/about/3060/
วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี
      ด้วยเหตุที่การใช้วัตถุมีพิษประเภทสารเคมีสังเคราะห์ได้ก่อให้เกิดพิษอันตรายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้นักวิจัยค้นพบข้อจำกัดในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและได้พยายามหันมาใช้วิธีการอื่นผสมผสานกันเพื่อลดพิษและอันตรายดังกล่าว ซึ่งการพิจารณาใช้วิธีการอื่นๆ เกษตรกรควรให้ความสนใจ คือ
      1. การเลือกใช้พืชพันธุ์ต้านทานแมลงและโรคศัตรูพืช มักนำมาใช้กับฝ้าย มะเขือเทศ อ้อย มันฝรั่ง ฯลฯ
      2. เลือกการหาจังหวะการปลูกที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงฤดูการระบาดของศัตรูพืช โดยปลูกให้เร็วหรือช้ากว่าปกติ ตลอดจนการพยากรณ์การระบาดของศัตรูพืช เพื่อเตรียมการป้องกันกำจัดได้ทันท่วงที
      3. การใช้เขตกรรม การตากดิน ไถดิน เพื่อทำลายศัตรูพืช และช่วยให้นกจับกินแมลงที่ฟักตัวในดิน นอกจากนี้การตัดเผาทำลายต้นตอพืชที่หลงเหลือเป็นแหล่งสะสมของศัตรูพืช จะช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชอีกด้วย
      4. การใช้วิธีกล เช่น การใช้กาวทาจับแมลงที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว
      5. การใช้วิธีทางฟิสิกส์ เช่น การใช้แสง เสียง หรืออุณหภูมิในการล่อไล่ฆ่าทำลายศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง ที่นิยม คือการใช้เครื่องล่อแมลงแบบใช้แสงไฟ
      6. การใช้วิธีการทางเคมี เป็นวิธีการใช้สารประกอบที่เป็นอนินทรีย์เคมีหรืออินทรีย์เคมีใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช แต่วิธีการนี้พบว่ามีข้อดีและข้อเสียมากจึงมีข้อจำกัดในการใช้เฉพาะ
      7. การใช้วิธีป้องกันกำจัดแมลง โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ของแมลง ตัวห้ำ ตัวเบียน สัตว์ป่าบางชนิดช่วยลดและควบคุมปริมาณศัตรูพืชมิให้เกิดความเสียหายกับพืชผล นับตั้งแต่กิ้งก่า แย้ ตุ๊กแก จิ้งจก งู ฯลฯ
      8. วิธีการอื่นๆ เช่น การกำหนดระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจเพื่อให้การใช้วัตถุมีพิษเป็นไปอย่างคุ้มทุนและมีประสิทธิภาพ การใช้สมุนไพรบางชนิดป้องกันกำจัดศัตรูพืช อาทิเช่น โล่ติ้น สะเดา ยาสูบ หนอนตายหยาก ฯลฯ
สะเดา (NEEM)
      สะเดาเป็นไม้พื้นบ้านที่พบเจริญได้ดีในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนิยมใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ทนความแล้ง นอกจากนี้ยังมีปลูกในแถบเอเชีย อัฟริกา และอเมริกากลาง มีประวัติการใช้เมล็ดและใบสะเดาป้องกันกำจัดศัตรูพืชในอินเดียและศรีลังกา น้ำมันสะเดายังใช้เป็นวัตถุดิบทำสบู่ ใบของสะเดายังมีสารไล่แมลงอยู่ด้วย จากการศึกษาพบว่ามีผลทำให้แมลงวางไข่ลดลง สะเดาเหมาะสำหรับใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด อาทิเช่น ผักกาดหัวที่ถูกหนอนผีเสื้อ เพลี้ยอ่อน และตั๊กแตนบางชนิดทำลาย โดยเฉพาะหนอนใยผักได้ผลดีมาก สารสกัดจากเมล็ดสะเดาจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นจะทำให้ผิวใบคะน้า ผักกาดเขียว มีสีม่วงบริเวณด้วนบนที่ถูกแดดทำให้ขายผลผลิตไม่ได้ เกษตรกรจึงไม่นิยมใช้ อนึ่งการใช้ผงเมล็ดสะเดาอัตรา 5 กรัม/หลุม หยอดโคนต้น หน่อไม้ฝรั่งหรืดฉีดพ่นสารสกัดจากเมล็ดสะเดาด้วยน้ำอัตราความเข้มข้น 100 กรัม/น้ำ 3 ลิตร จะไม่เป็นอันตรายต่อหน่อไม้ฝรั่ง และช่วยลดปริมาณหนอนของผีเสื้อบางชนิดได้ดี
      ตามคำแนะนำของ GTZ ใน Neem a Natural Insecticide ระบุว่าสะเดาจะเริ่มให้ดอกครั้งแรกเมื่ออายุได้ 2-3 ปี และติดผลเมื่ออายุ 3-4 ปี และให้ผลผลิต 1-2 ครั้ง/ปี ตามสภาพอากาศกลุ่มของแมลง ที่นับว่าได้ผลดีในการป้องกันและกำจัด คือ ตัวอ่อนของด้วย หนอนผีเสื้อกลางวัน และผีเสื้อกลางคืน และยังได้ผลดีกับแมลงในกลุ่มตั๊กแตน หนอนชอนใบ เพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยกระโดด สำหรับพวกตัวเต็มวัยของด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อน และแมลงหวี่ขาว จะได้ผลป้องกันในระดับพอใช้ และไม่ได้ผลในการป้องกันกำจัดในกลุ่มแมลงพวกเพลี้ยแป้ง หรือเพลี้ยหอย ตัวแก่ของมวนแมลงวันผลไม้ และไรแมงมุม



เครดิต  http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_002c.asp?info_id=21

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การใช้สารสะเดาเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช


สะเดา เป็นพืชที่รู้จักกันดี ปัจจุบันยิ่งเป็นที่รู้จักกันมากยิ่งขึ้น เพราะสะเดามีคุณประโยชน์ทางด้านกำจัดแมลงศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม แต่สะเดาก็มีหลายพันธุ์ดังที่กรมส่งเสริมการเกษตรมีข้อมูลไว้ว่า สะเดา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ  สะเดาอินเดีย สะเดาไทย สะเดาช้าง หรือต้นเทียม ไม้เทียม 
 
ศ.ดร.ขวัญชัย สมบัติศิริ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ เขียนหลักการและวิธีการใช้สะเดาป้องกันและกําจัดแมลงศัตรูพืชไว้ในเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ ฉบับที่ 1 โครงการเกษตรกู้ชาติ ม.เกษตรศาสตร์ ไว้ว่า เนื้อสะเดามีรสหวาน เป็นอาหารของนก และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรค นํ้ามันสะเดาที่สกัดได้จากเมล็ดในจะนําไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ ยาสีฟัน เป็นยารักษาเส้นผม เป็นยาคุมกําเนิด (โดยการฉีดนํ้ามันสะเดาเข้าไปในอวัยวะเพศหญิงฆ่าเชื้ออสุจิ) เป็นยารักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อนโรคปวดตามข้อ แผลปวดตามข้อ แผลเป็นหนองแก้พิษแมลงกัดต่อย และใช้เป็นสารฆ่าแมลงบางชนิดภายหลังจากการสกัดนํ้ามันจากเมล็ดสะเดาแล้ว กากที่เหลือสามารถนําไปสกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือนํ้าเพื่อสกัดสารอะซาไดแรคติน (azadirachtin) ใช้ทําเป็นสารฆ่าแมลง กากที่เหลือจากการสกัดครั้งนี้ เรียกว่า นีม เค้ก (neem cake) ยังสามารถใช้เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ผสมกับกากนํ้าตาลใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยหรือผสมกับปุ๋ยยูเรียทําเป็นปุ๋ยละลายช้า เป็นสารฆ่าแมลงสารฆ่าโรคพืช และไส้เดือนฝอยบางชนิด
 
ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร บอกว่า สารอินทรีย์ที่สกัดได้จากเมล็ดสะเดาที่สำคัญ คือสารอะซาไดแรคติน สามารถออกฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดได้หลายรูปแบบ คือเป็นสารฆ่าแมลง สารไล่แมลงทำให้แมลงไม่ชอบกินอาหาร ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง การเจริญเติบโตผิดปกติทำให้หนอนไม่ลอกคราบหนอนตายในระยะลอกคราบ สารออกฤทธิ์มีผลต่อการสร้างฮอร์โมน ทำให้แมลงมีการผลิตไข่และการฟักไข่ลดน้อยลง แต่สารอะซาไดแรคตินจะมีอันตรายน้อยต่อมนุษย์และสัตว์ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชและสภาพแวดล้อม จากการทดลองพบสารอะซาไดแรคติน มากที่สุดในเมล็ดสะเดา โดยเฉพาะสะเดาอินเดีย พบปริมาณสูงที่สุด คือ  7.6 มก./กรัม โดยเฉลี่ย สะเดาไทยพบ 6.7 มก./กรัม โดยเฉลี่ย และสะเดาช้าง (ต้นเทียม) พบ 4.0 มก./กรัม โดยเฉลี่ย  
 
สำหรับวิธีนำสะเดามาทำเป็นสารสำหรับกำจัดแมลงกรมส่งเสริมการเกษตรแนะไว้ดังนี้ ให้เอาเมล็ดสะเดาแห้งที่ประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ดและเนื้อเมล็ด มาบดให้ละเอียดแล้วนำผงเมล็ดสะเดามาหมักกับน้ำในอัตรา 1 กิโลกรัม/น้ำ 20 ลิตร โดยใช้ผงสะเดาใส่ไว้ในถุงผ้าขาวบางแล้วนำไปแช่ในน้ำนาน 24 ชั่วโมง ใช้มือบีบถุงตรงส่วนของผงสะเดา เพื่อสารอะซาไดแรคตินที่อยู่ในผงสะเดาสลายตัวออกมาให้มากที่สุด เมื่อจะใช้ก็ยกถุงผ้าออก พยายามบีบถุงให้น้ำในผงสะเดาออกให้หมดแล้วนำไปฉีดป้องกันกำจัดแมลง ก่อนนำไปฉีดแมลงควรผสมสารจับใบเพื่อให้สารจับกับใบพืชได้ดีขึ้น  
 
ควรใช้สารสกัดนี้ ฉีดพ่นในเวลาเย็นจะมีผลในการฆ่าแมลงได้ดี ใช้ฉีดพ่น 5-7 วันต่อครั้ง และควรใช้สลับกับสารฆ่าแมลงเป็นครั้งคราว แต่ถ้าเป็นช่วงที่แมลงระบาดอย่างรุนแรง ต้องใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่น ซึ่งจะลดความเสียหายได้รวดเร็ว  
 
ศ.ดร.ขวัญชัย บอกไว้ว่า การเก็บและรักษาผลหรือเมล็ดสะเดาที่ถูกต้อง จะช่วยให้สารออกฤทธิ์ในสะเดามีปริมาณสูงมีผลให้สารสกัดสะเดาที่สามารถใช้ป้องกันและกําจัดแมลงศัตรูพืชได้ผลดี การเก็บและรักษาผลหรือเมล็ดสะเดาที่ไม่ดีจะเกิดเชื้อราเข้าทําลายสารออกฤทธิ์ โดยเฉพาะสารอะซาไดแรคติน 
 
วิธีการที่ถูกต้องเริ่มตั้งแต่การเก็บ ควรเก็บผลสะเดาที่ร่วงหล่นอยู่ใต้ต้น หรือ เก็บผลสุกสีเหลืองจากกิ่งก็ได้ อย่าปล่อยทิ้งผลสะเดาที่ร่วงบนดินนานเกินไป จากนั้นนํามาผึ่งแดดประมาณ 2-3 สัปดาห์จนเปลือกสะเดาแห้งเป็นสีนํ้าตาลจึงนํามาผึ่งในร่มประมาณ 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้เมล็ดในแห้งสนิท ขั้นตอนต่อไปคือเก็บบรรจุในถุงตาข่ายพลาสติกหรือกระสอบป่าน (ยกเว้น กระสอบปุ๋ย) ซึ่งสามารถวางซ้อนกันได้ โดยมีแผ่นไม้วางข้างล่างเพื่อป้องกันความชื้นจากดินการเก็บรักษาในลักษณะเป็นผลแห้งนี้จะนําไปใช้ได้เฉพาะการผลิตใช้เอง ไม่เหมาะที่จะนําไปผลิตเป็นอุตสาหกรรม


เครดิต http://www.phtnet.org/news52/view-news.asp?nID=229

สมุนไพรไล่แมลงสูตรรวมเอนกประสงค์
สะเดา    ตะไคร้หอม    (ตะไคร้บ้านก็ได้)   ใบสะเดาหรือเมล็ดสะเดาก็ได้
ส่วนผสม
                ใบสะเดาหรือเมล็ดสะเดา                1   ก.ก.
                หัวข่า                                            1   ก.ก.
                ตะไคร้หอม                                    1  ก.ก.

วิธีทำ
                สับส่วนผสมแต่ละอย่างให้เป็นชิ้น ขนาด  3.5  เซนติเมตร   หรือตำรวมกันให้ละเอียด  เติมน้ำ  20  ลิตร  หมัก 3 คืน  กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้

วิธีใช้
                นำน้ำสมุนไพรที่หมักได้  1 ลิตร  ผสมน้ำ  10 ลิตร   พ่นพืชผักผลไม้

ประโยชน์
                ใช้ป้องกันผีเสื้อกะหล่ำ   หนอนคืบ   เพลี้ยอ่อน   แมลงในยุ้งฉาง

สูตรใช้อย่างเดียวเอนกประสงค์
สาบเสือ
ส่วนผสม
                ต้นสาบเสือและใบสด 1  กก. (หนึ่งกิโลกรัม)  นำมาสับเป็นชิ้นขนาด  3.5  เซนติเมตร ผสมน้ำ 3 ลิตร  หมักไว้  1 คืน   กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้
วิธีใช้
                นำน้ำที่หมักได้  1 ลิตร  ผสมน้ำ 5 ลิตร  ฉีดพ่นพืชผักทุก ๆ  5 - 7 วัน  ในช่วงเวลาเย็น
ประโยชน์
                ใช้ใส่และกำจัดแมลงพวกเพลี้ยกระโดด, เพลี้ยจักจั่น, เพลี้ยหอย, เพลี้ยไฟ,หนอนกระทู้, หนอนใยผัก

ดาวเรือง
ส่วนผสม
                ดาวเรืองทั้งต้น ใบ  ดอก 0.5 ก.ก.  (ครึ่งกิโลกรัม)  นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด  ผสมน้ำ  3 ลิตร  หมักไว้  1 คืน  นำมากรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้
วิธีใช้
                นำน้ำหมักดาวเรือง 5 ช้อนแกงผสมน้ำ  5 ลิตร  และน้ำสบู่ หรือยาสระผม  1 ช้อนแกง  ผสมด้วย  เพื่อช่วยให้เป็นสารจับใบ ฉีดพ่นพืชผัก  ผลไม้
ประโยชน์
                ใช้ป้องกันเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยหอย  เพลี้ยไฟ  แมลงหวี่ขาว  แมลงวันผลไม้  หนอนใยผัก  หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก  หนอนกะหล่ำปลี 
ด้วงปีกแข็ง   ไส้เดือน   ฝอย

บอระเพ็ด
                ใช้เถาบอระเพ็ดแก่ ๆ ทั้งใบ 1 ก.ก.  สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาด 3-5 เซนติเมตร ผสมน้ำ 4 ลิตร  หมักไว้ 1 คืน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้
วิธีใช้
                นำน้ำหมักบอระเพ็ดที่กรองแล้ว  1 ลิตร  ผสมน้ำ  5 ลิตร  ฉีดพ่นพืชผัก
ประโยชน์
                ใช้ไล่และกำจัดเพลี้ยกระโดสีน้ำตาล  เพลี้ยจักจั่น  หนอนกอ  โรคยอดเหี่ยว   โรคข้าวลีบ

พริก
ส่วนผสม
                พริกชี้ฟ้าสุก 0.5 ก.ก. (ครึ่งกิโลกรัม)  ตำหรือปั่นให้ละเอียด  ผสมน้ำ 3 ลิตร  หมักไว้  1 คืน กรองเอาน้ำเก็บไว้ใช้
วิธีใช้
                นำน้ำหมักบอระเพ็ดที่กรองแล้ว  1 ลิตร  ผสมน้ำ  10  ลิตร  ฉีดพ่นพืชผัก  ผลไม้
ประโยชน์
                ใช้ขับไล่และกำจัดแมลง  เพลี้ยอ่อน   หนอนผีเสื้อกะหล่ำ   ด้วงงวงช้าง   แมลงในยุ้งฉาง   เพลี้ยไฟ   ไรแดง   เพลี้ยแป้ง

ข้อควรปฏิบัติในการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร
         
   1. ควรใช้สารสกัดชีวภาพจากพืชสมุนไพรแต่ละสูตรสลับกันไปทุก ๆ 5 - 7 วัน  เช่น  อาทิตย์แรกใช้สารสกัดบอระเพ็ด  อาทิตย์ที่ 2 ใช้สารสักจากสะเดา
อาทิตย์ที่ 3  ใช้สารสกัดจากพริก  อาทิตย์ที่ 4   ใช้สารสกัดจากสาบเสือ  ทั้งนี้เพื่อป้องกันการดื้อยาของแมลงศัตรูพืช  จึงไม่ควรใช้สารสกัดสูตรเดียวติดต่อกันเป็น
เวลานาน  อย่างที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ขณะนี้
                2. การหมักน้ำสกัดจากพืชสมุนไพรจากพืชบางชนิด  เช่น พริก  ข่า  ตะไคร้หอม  สะเดา  ไม่ควรหมักไว้เกินกว่า  3 วัน  เพราะทำให้น้ำหมักมีกลิ่นบูดเน่า
และสารกำจัดแมลงเสื่อมคุณภาพได้  ควรหมักไว้  1 - 2 คืน  แล้วกรองเอาน้ำสกัดออกมาเก็บไว้ใช้จะมีประสิทธิภาพมากกว่า
                3. ควรจะหมักน้ำสกัดพืชสมุนไพร  หลาย ๆ ขนาน  พร้อม ๆ กัน  แล้วกรองเก็บไว้สลับกันใช้ตามข้อ 1
                4. การใช้น้ำสกัดสมุนไพรควรเริ่มใช้ในอัตราส่วนที่ต่ำ ๆ  ก่อน  เช่น  5 ช้อนแกง  ต่อน้ำ 10 ลิตร  แล้วจึงเพิ่มอัตราส่วนขึ้นทีละน้อย  เพราะพืชผักบางชนิด
อาจจะชงักการเจริยเติบโต หรือทำให้ยอดหรือใบไหม้ได้
                5. เศษพืชสมุนไพรที่กรองเอาน้ำหมักออกแล้ว  นำไปใส่ตามโคนต้นไม้ผล  หรือหว่านในแปลงกล้าข้าว เพื่อขับไล่หรือกำจัดแมลงศัตรูพืชได้



เครดิต http://wiangsa.nan.doae.go.th/genaral/data6.htm