หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



การใช้สารสกัดจากสะเดา เพื่อฆ่าแมลงศัตรูพืช 
      สารฆ่าแมลงเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่งและมีการใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเกินปัญหาและผลกระทบต่าง ๆ มากมายหลายด้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน จึงมองหาวิธีการต่าง ๆ ในการที่จะนำมาป้อง กันกำจัดศัตรูพืชเพื่อลดการใช้สารฆ่าแมลง ทางเลือกทางหนึ่งที่น่าสนใจขณะนี้คือการใช้สารสกัดจากธรรมชาติ สารสกัดจากธรรมชาติเป็นสารที่มีคุณสมบัติใน การปราบหรือควบคุม ปริมาณการระบาดของแมลงศัตรูพืช และ ให้ผลดีเท่าเทียมกับการใช้สารฆ่าแมลง ไม่มีพิษตกค้างในผลผลิต ไม่มีพิษต่อเกษตรกรผู้ใช้และสภาพแวดล้อม สารสกัดจากธรรมชาติที่สำคัญและมีศักยภาพสูงที่จะนำมาใช้ทดแทนสารฆ่าแมลงชนิดหนึ่งคือ สะเดา

ชนิดของสะเดา 
สะเดา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1.  สะเดาอินเดีย มีลักษณะขอบใบหยักเป็นฟีนเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยแหลมโคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลมเรียวแคบมากคล้ายเส้นขร ผลสุกในเดือน ก.ค.-ส.ค.

 

2.  สะเดาไทย มีลักษณะของใบหยักเป็นฟันเลื่อย แต่ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม ผลสุกในเดือน เม.ย.- พ.ค.
                                                            สะเดาไทย

3.  สะเดาช้าง หรือต้นเทียม ไม้เทียม ขอบใบจะเรียบ หรือปัดขึ้นลงเล็กน้อย โคนใบเบี้ยว ปลายเป็นติ่งแหลม ขนาดใบและผลใหญ่กว่า 2 ชนิดแรก ผลสุกในเดือน พ.ค.- ส.ค.
                                           
                                                                   สะเดาช้าง

         ต้นสะเดาอินเดีย และสะเดาไทย เป็นชนิด (species) เดียวกัน แต่ต่างพันธุ์ (variety) ส่วนสะเดาช้างหรือต้นเทียม ไม้เทียม จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับสะเดาไทย และสะเดาอินเดีย แต่คนละชนิด (species) สะเดาทั้ง 3 ชนิดนี้จะมีลักษณะใบและต้นแตกต่างกันดังกล่าวมาแล้ว
 
แหล่งปลูก 
สะเดาไทย จะพบเห็นโดยทั่ว ๆ ไป ตามหัวไร่ปลายนา บ้านคนทั่วไป ตาม 2 ข้างทางหลวง จึงมีปริมาณมาก หาง่าย ราคาถูก
สะเดาอินเดีย ค่อนข้างจะหายาก แหล่งปลูกใหญ่คือ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสองข้างทางหลวง หมายเลข 101 จากอำเภอสูงเม่น ถึงเขตอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
สะเดาช้าง พบเฉพาะในทางภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพรลงไป จะปลูกตามขอบรั่วบ้าน แปลงปลูกยางพารา และปลูกเป็นสวนโดยเอกชน
  
สารประกอบทางเคมีของสะเดา  
สารอินทรีย์ที่สกัดได้ จากเมล็ดสะเดามีอยู่ประมาณ 35 สาร สารอะซาดิแรดติน (Azadirachtin) ที่สักดได้จากเมล็ดสะเดาเป็นสารที่นักกีฎวิทยาให้ความสนใจที่จะนำไปใช้ทดลองป้องกันกำจัดศัตรูพืช
สารอะซาดิแรคติน  
         ออกฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดแมลงได้หลายรูปแบบ คือเป็นสารฆ่าแมลง สารไล่แมลง ทำให้แมลงไม่ชอบกิน อาหาร ทำให้การเจริญเติบโตของแมลงผิดปกติ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง มีผลทำให้หนอนไม่สามารถ ลอกคราบเจริญเติบโตต่อไป หนอนจะตายในระยะลอกคราบ เพราะสารออกฤทธิ์มีผลต่อการสร้างฮอร์โมน ซึ่งทำให้การผลิตไข่และปริมาณการฟักไข่จะลดน้อยลง แต่สารอะซาดิแรดตินจะมีอันตรายน้อยต่อมนุษย์และสัตว์ ศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชและสภาพแวดล้อม
ส่วนของสารสะเดาที่นำมาสกัด



เครดิต http://www.oknation.net/blog/horti-asia/2012/11/30/entry-3