หน้าเว็บ

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


น้ำสกัดชีวภาพเพื่อป้องกันและจำกัดศัตรูพืช 
น้ำสกัดชีวภาพอย่างเดียวไม่ใช่ยาปราบศัตรูพืช แต่จะให้ความต้านทานแก่พืชเพื่อสู้กับศัตรูพืช โรคและแมลงไม่มารบกวน ถ้าได้ให้อย่างสม่ำเสมอ น้ำสกัดชีวภาพที่ได้จากการหมักผลไม้สมสมุนไพรจะช่วยให้การป้องกันการกำจัดศัตรูพืชได้ยิ่งดียิ่งขึ้น

วิธีทำ
  1. วิธีทำน้ำสกัดชีวภาพเพื่อป้องกันและรักษาศัตรูพืช ก็เช่นเดียวกับการทำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้กล่าวมาแล้ว เพียงแต่ใช้ผลไม้หมักทั้งหมด ผลไม้ใช้ได้ทั้งดิบและสุก หรือเปลือกผลไม้ ถ้าเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ทางยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงหิมพานต์จะยิ่งดี
  2. สมุนไพรที่ต้องการใช้ร่วมกับน้ำสกัดชีวภาพ ได้แก่ ใบสะเดา ตะไคร้หอม ฟ้าทะลายโจร กระเทียม พริกขี้หนู ว่านหางจระเข้ ขิง ข่า และยาสูบ เป็นต้น นำมาทุบหรือตำให้แตก ใส่น้ำให้ท่วม หมักไว้ 1 คืน เพื่อสกัดเอาน้ำสมุนไพร นำไปกรองเอาแต่น้ำ
วิธีใช้
  1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำสมุนไพรและน้ำในอัตราน้ำสกัด 1 ส่วน น้ำสมุนไพร 1 ส่วน และน้ำ 200-500 ส่วน
  2. ฉีดพ่นต้นพืชให้เปียกทั่ว ควรเริ่มใช้หลังต้นพืชเริ่มงอม ก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวน
  3. ควรให้ในตอนเช้าหรือหลังฝนตกและให้อย่างสม่ำเสมอ
วิธีใช้ในพืช
  1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพ กับน้ำในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 500-1,000 ส่วน รดต้นไม้หรือฉีด พ่นบนใบ
  2. เริ่มฉีดพ่นเมื่อพืชเริ่มงอกก่อนที่โรคและแมลงจะรบกวน และควรทำในตอนเช้าหรือ หลังฝนตกหนัก
  3. ควรให้อย่างสม่ำเสมอ และในดินต้องมีอินทรียวัตถุอย่างเพียงพอ เช่น ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง ใบไม้แห้งและฟาง เป็นต้น
  4. ใช้ได้กับพืชทุกชนิด รายละเอียดโปรดดูในบดต่อไป
  5. น้ำสกัดชีวภาพเจือจางใช้แช่เมล็ดพืชก่อนนำไปเพาะ จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็ว ขึ้น และจะ ได้ต้นกล้าที่แข็งกล้าที่แข้งแรงและสมบูรณ์
ประโยชน์ 
ในน้ำสกัดชีวภาพ ประกอบด้วยสารอินทรีต่าง ๆ หลากหลายชนิด เช่น เอนไซม์ฮอร์โมน และธาตุอาหารต่าง ๆ เอนไซม์บางชนิดจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นสารอินทรีย์ เป็นอาหารของจุลินทรีย์เอง และเป็นอาหารของต้นพืช ฮอร์โมนหลายชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นก็เป็นประโยชน์ต่อพืชถ้าให้น้ำปริมาณเล็กน้อยแต่จะมีโทษถ้าให้ในปริมาณที่เข้มข้นเกินไป ฉะนั้นในการใช้น้ำสกัดชีวภาพในพืช จำเป็นต้องให้ในอัตราเจือจางสารอินทรีย์บางชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นเป็นสารที่เพิ่มความต้านทานให้แก่พืช ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคแมลง และทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน



 เครดิต http://www.baanjomyut.com/library_2/water_extraction_of_biological/01.html